วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มะกรูด คนธาตุน้ำแก้เบาหวานดี

สมุนไพร แม้จะเป็นทางเลือกในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ แต่บางตัวยาต้องขึ้นอยู่กับธาตุของผู้ป่วยด้วย จะสังเกตได้ว่ายาอย่างเดียวกันบางคนกินหรือใช้แล้วดีแต่อีกคนกลับไม่ได้ผล ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธาตุของแต่ละคนนั่นเอง เคยเขียนย้ำอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะสมุนไพรที่เป็นยาเคี่ยวควรระวัง เพราะจะมีทั้งให้ผลดีและไม่ดี ต้องรู้จักใช้หรือกิน ไม่ควรกินหรือใช้แบบต่อเนื่องเป็นประจำ ซึ่งมะกรูดกับสูตรแก้โรคเบาหวาน เป็นอีกสูตรหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้เป็นเบาหวานที่เป็นคนธาตุน้ำ คือเกิดระหว่างเดือน กรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน จะได้ผลดี แม้จะเป็นตัวยาเดี่ยวก็ไม่มีผลข้างเคียงหรืออันตรายอะไร สามารถกินหรือใช้ได้แบบต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาต่อสุขภาพ






โดยมีวิธีง่าย ๆ คือ คั้นเอาเฉพาะน้ำจากผลมะกรูด จำนวน 3 ผล ดื่มตอนไหนก็ได้อาทิตย์ละครั้ง จำไว้ว่าดื่มวันไหนอาทิตย์ต่อไปก็ดื่มวันนั้น ดื่มเป็นประจำจะช่วยให้เบาหวานลดลงได้ สูตรนี้คนธาตุอื่นจะไม่ได้ผล

มะกรูด หรือ CITRUS HYSTRIX DC. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE ถิ่นกำเนิดภูมิภาคเอเชีย ประโยชน์ทางสมุนไพร รากเป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะเป็นพิษ น้ำ มีวิตามินซี ใช้ถูฟันแก้เลือดออกตามไรฟัน ผลสด หมักดองเป็นยา ดองเปรี้ยวเค็มกินเป็นยาวฟอกล้างและบำรุงโลหิตระดู ผิวผล ปรุงเป็นยาลม ขับลมในลำใส ขับระดู ราก ถอนพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด ใช้ผล 1 ผล ตัดจุกคว้านเอาไส้กลางออกแล้วเอามหาหิงคุ์ใส่กลางผล ปิดจุกสุมไฟให้ดำเกรียมกรอบทำผงละลายน้ำผึ้งป้ายลิ้นเด็กอ่อนแรกคลอดเป็นยาขับขี้เทา ขับผายลม แก้ปวดท้องดีมาก ผลสด เผาไฟขยี้สระผมทำให้ผมดกดำและผลิตแชมพูได้





สมุนไพรกับโรคเบาหวาน



เบาหวาน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ทั้งนี้เกิดจากสาเหตุหลายๆอย่าง ทั้งจากกรรมพันธุ์ อาหารการกิน หรือ การดำรงชีวิตตามวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป สาเหตุของการเกิดโรคคือการที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะมีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลให้กลายเป็น พลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ จงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ และถูกขับออกนอกร่างกายออกมากับปัสสาวะจึงทำให้มีการเรียกโรคนี้ว่าเบาหวาน



ในที่สุด เราสามารถแบ่งชนิดของโรคเบาหวานได้เป็น / ชนิด คือ



1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus/IDDM)เป็นชนิดที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรงและอันตรายค่อนข้างสูง มักพบในเด็กและคนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี โดยตับอ่อนของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่สามารถผลิตสารอินซูลินได้เลย หรืออาจจะผลิตได้น้อยมาก จึงจำเป็นจะต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน



2. เบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (Non-Insulin-dependent diabetes mellitus/NIDDM)เป็นเบาหวานที่พบได้บ่อยในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี มักจะมีความรุนแรงของโรงน้อย โดยตับอ่อนของผู้ป่วยยังสามารถที่จะผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเผาผลาญน้ำตาลจึงยังคงมีน้ำตาลเหลือในร่างกายเหตุผลจำเป็นที่เราจะต้องควบคุมเบาหวานก็เพราะถ้าไมควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติแล้ว ภายใน 10ปี เบาหวานก็จะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับอวัยวะสำคัญได้ เช่น การติดเชื้อที่ดวงตา หรือที่ไต หรือการส่งผลทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและความดันโลหิตตามมา



เนื่องด้วยในปัจจุบัน สมุนไพรได้ เข้ามามีบทบาทในการรักษาและควบคุมความรุนแรงของโรคที่มีผลต่อสุขภาพชีวิตของ คนไทยได้หลายๆโรค เบาหวานก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถใช้สมุนไพรในการควบคุมความรุนแรงของโรค ได้ โดยสมุนไพรที่มีผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ คือ อบเชยหรือ ซินนามอน (CINNAMON) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ “Cinnamomum spp.” โดยสารสำคัญที่ใช้คือ เมธิลไฮดรอกซี่ ซาลโคน โพลิเมอร์ (Methylhydroxy Chalcone Polymer หรือ MHCP) ซึ่ง เป็นเป็นสารที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำงานคล้ายกับฮอร์โมนอินซูลิน คือช่วยเพิ่มความสามารถในกรสันดาปกลูโคสให้ได้มากขึ้น จึงมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและจะไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ ถ้ามีการรับประทาน อบเชย"อย่างต่อเนื่องเป็น ประจำ การใช้อบเชยควบคุระดับน้ำตาลในเลือดนั้น จะมีความปลอดภัยมากว่าการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เพราะสามารถรับประทานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายแต่ อย่างใด โดยภายใน1 วันควรรับประทานอบเชยอย่างน้อย 1 กรัม และให้รับหระทานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ให้ผู้ป่วยทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย



จะ เห็นว่าถึงแม้เบาหวานเป็นโรคที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาให้หาขาดได้ก็จริง แต่ผู้ป่วยก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพโดยการหันมาใช้สมุนไพรไทย ในการควบคุมความรุนแรงของโรค ซึ่งการใช้สมุนไพรไทย นอกจากจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงและสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนภูมิปัญญาไทย และเป็นการสนับสนุนการใช้สมุนไพรไทยโดยคนไทยอีกด้วย ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยจำกัด(เครือองค์การเภสัชกรรม)โทร.0-2527-8235 0-2527-8251 จาก วารสารยา สมาคมร้านขายยา ฉบับที่ 12 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2549